ประวัติความเป็นมา

ปี พ.ศ.2493 ได้มีการก่อตั้ง ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยใช้ชื่อว่า ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัแม่ฮ่องสอน มี ร.ต.ท.ลำธาร วัฒนดิลก ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดเป็นคนแรก ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย(ฉบับที่ 22) พ.ศ.2536 ปรับปรุงโครงสร้างและยกฐานะกองตรวจคนเข้าเมือง ขึ้นเป็นสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เทียบเท่า กองบัญชาการ ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ด่านตรวจคนเข้าเมืองแม่ฮ่องสอน เป็นด่านระดับ 4 มี รองสารวัตรเป็นหัวหน้าด่าน ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2537

ต่อมาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2540 ด่านตรวจคนเข้าเมืองแม่ฮ่องสอนได้รับการปรับฐานะจากด่านระดับ 4 เป็นด่านระดับ 3 มี สารวัตรเป็นหัวหน้าด่านจนถึงปัจจุบัน

ปี พ.ศ.2548 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2548 และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการ หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานตำแห่งแห่งชาติ พ.ศ.2548 ด่านตรวจคนเข้าเมืองแม่ฮ่องสอน สังกัด ศูนย์ตรวจคนเข้าเมืองภาคเหนือ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2548 ปี พ.ศ.2552 ได้มีพระราชกฤษฏีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552 และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการ หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552 เป็นผลให้ด่านตรวจคนเข้าเมืองแม่สะเรียง ถูกยุบเลิกตำแหน่งมารวมกับ ด่านตรวจคนเข้าเมืองแม่ฮ่องสอน และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัด กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 5 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2552



เดิม ด่าน ตม.แม่ฮ่องสอน ยังไม่มีอาคารที่ทำการเป็นของทางราชการต้องเช่าอาคารของเอกชนเป็นสถานที่ทำการตลอดมา ต่อมาเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2543 ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ให้ใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนล่าง เพื่อก่อสร้างอาคารที่ทำการและบ้านพัก เนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน 8.75 ตารางวา ปีงบประมาณ 2547 ได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวน 12,500,000 บาท เพื่อก่อสร้างอาคารที่ทำการและบ้านพักข้าราชการ และ เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2548 ได้ทำพิธีเปิดอาคารที่ทำการด่าน ตม.แม่ฮ่องสอน และใช้เป็นที่ทำการจนถึงปัจจุบัน


พื้นที่รับผิดชอบ

จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดชายแดนอยู่เหนือสุดขอประเทศไทย มีพื้นที่ 12,681 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ 45 ตำบล 415 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 254,927 คน

ทิศเหนือ ติดต่อกับ รัฐฉาน ประเทศเมียนมา

ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอท่าสองยาว จังหวัดตาก

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่สอด จังหวัดเชียงใหม่

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศเมียนมา

จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเมียนมาทุกอำเภอ รวมเขตแดนติดต่อยาวประมาณ 483 กม. เป็นแนวเขแดนที่เป็นพื้นดิน 326 กม. และแนวลำน้ำ 157 กม. (ลำน้ำสาละวิน 127 กม. และลำน้ำเมย 30 กม.)

– อ.เมือง ติดต่อกับ รัฐฉาน และรัฐคะยา

– อ.ปาย อ.ปางมะผ้า ติดต่อกับ รัฐฉาน

– อ.ขุนยวม อ.แม่ลาน้อย ต่อต่อกับ รัฐคะยา

– อ.แม่สะเรียง อ.สบเมย ติดต่อกับ รัฐกระเหรี่ยง

จุดผ่อนปรนเพื่อการค้าชายแดนไทย-พม่า
ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 5 ช่องทาง

  1. จุดผ่อนปรนบ้านห้วยผึ้ง ม.4 ต.ห้วยผา อ.เมือง ตามประกาศจังหวัดแม่ฮ่องสอน ลงวันที่ 1 ก.ค.2539 (ระยะทางจาก อ.เมืองแม่ฮ่องสอน 50 กม.)

  2. จุดผ่อนปรบบ้านห้วยต้นนุ่น ม.4 ต.แม่เงา อ.ขุนยวม ตามประกาศยังหวัดแม่ฮ่องสอน ลงวันที่ 30 ธ.ค.2537 (ระยะทางจาก อ.เมืองแม่ฮ่องสอน 110 กม.)

  3. จุดผ่อนปรนบ้านเสาหิน ต.เสาหิน อ.แม่สะเรียง ตามประกาศจังหวัดแม่ฮ่องสอน ลงวันที่ 28 ก.ย.2548 (ระยะทางจาก อ.เมืองแม่ฮ่องสอน 260 กม. /
จาก อ.แม่สะเรียง 95 กม.)

  4. จุดผ่อนปรนบ้านแม่สามแลบ ม.1 ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย ตามประกาศจังหวัดเแม่ฮ่องสอน ลงวันที่ 28 มี.ค.2549 (ระยะทางจาก อ.เมืองแม่ฮ่องสอน 220 กม. /
จาก อ.แม่สะเรียง 55 กม.)

  5. จุดผ่อนปรนบ้านน้ำเพียงดิน ม.3 ต.ผาบ่อง อ.เมือง ตามประกาศจังหวัดแม่ฮ่องสอน (ระยะทางจาก อ.เมืองแม่ฮ่องสอน 28 กม.)

   พื้นที่พักพิงผู้หลบหนีภัยการสู้รบจังหวัดแม่ฮ่องสอน

  1.พื้นที่พักพิงฯ บ้านใหม่ในสอย ม.4 ต.ปางหมู อ.เมือง

  2. พื้นที่พักพิงฯ บ้านแม่สุรินทร์ ม.3 ต.ขุนยวม อ.ขุนยวม

  3. พื้นที่พักพิงฯ บ้านแม่ลามาหลวง ม.7 ต.สบเมย อ.สบเมย

  4. พื้นที่พักพิงฯ บ้านแม่ละอูน ม.2 ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย

วิสัยทัศน์ & พันธกิจ